02 Jun, 2024
เคที่ แมคไนท์ นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วัย 32 ปี รู้ว่ามะเร็งเต้านมเป็นโรคที่สืบทอดในครอบครัวของเธอ ยายทวด ยายป้า และย่าของเธอทางฝั่งพ่อทุกคนล้วนเคยเป็นโรคนี้ เมื่อเธอทดสอบพบว่ามีการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นในการเกิดโรคนี้ เธอตัดสินใจทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อรักษาสุขภาพและไปตรวจคัดกรองเป็นประจำ แม้กระนั้นเธอยังไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับความช็อคที่เปลี่ยนแปลงชีวิตเมื่อได้รับการวินิจฉัยในปี 2020 “ฉันคิดว่าตัวเองเข้มแข็งและสามารถควบคุมสุขภาพและอนาคตของตัวเองได้” เคที่ซึ่งทราบว่าเธอเป็นมะเร็งเต้านมชนิด Triple-Negative ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบที่รุนแรงและขยายตัวเร็ว เธอกลัวตายขณะเดียวกันก็รู้สึกโกรธ เพราะเธอใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังเพื่อป้องกันโรคนี้ “การวินิจฉัยทำให้ความรู้สึกฉันแตกสลาย” เคที่ต้องต่อสู้กับอารมณ์ที่ซับซ้อนหลังจากทราบว่า หนึ่งปีก่อนหน้า เธอมีโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน ซึ่งเป็นโรคอักเสบเรื้อรังที่ส่งผลต่อข้อต่อ “ฉันเห็นเพื่อนๆ และคิดว่าฉันไม่ควรอยู่ในร่างกายที่รู้สึกเหมือนอายุ 80…
การเป็นสิว สร้างความวิตกกังวลให้กับหลาย ๆ คน แต่สิ่งที่น่ากลัวยิ่งกว่าสิวที่กำลังขึ้นอยู่ ก็คือ รอยแผลเป็นที่เกิดจากสิว รอยแผลเป็นจากสิว แบ่งเป็น แผลเป็นแบบชั่วคราว และ แผลเป็นแบบถาวร ที่หลายคนเรียกกันว่าหลุมสิว สำหรับรอยแผลเป็นจากสิวแบบชั่วคราวนั้น บริเวณผิวหนังจะยังคงเรียบ รอยแผลเป็นแค่รอยดำจากการอักเสบ ซึ่งสามารถหายไปได้ แม้ว่าบางครั้งอาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ก็ตาม การรักษารอยดำของแผลเป็นชั่วคราว ทำได้ไม่ยาก เพียงแค่ทาครีมกันแดด SPF 30+ เพื่อป้องกันการสัมผัสรังสี UV ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสีผิว เท่านี้ ไม่นาน รอยสิวก็จะหายไป รอยแผลเป็นที่มีปัญหากับทุกคนมาก…
นักวิจัยได้ทำการติดตามข้อมูลชาวเดนมาร์กราว 100,000 คน เป็นเวลาประมาณ 8 ปี พบว่าผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำมากกว่า 6 แก้วต่อวัน จะมีความเสี่ยงที่ในการเป็นโรคนิ่วลดลงถึง 23% Dr. A. Tybjaerg-Hansen หัวหน้าแพทย์ของแผนกชีวเคมีคลินิกของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนในเดนมาร์ก บอกว่า “การดื่มกาแฟมากจะทำให้อัตราการเป็นนิ่วต่ำ” เรื่องนี้คงจะเป็นข่าวดีสำหรับชาวเดนมาร์ก เพราะ 6 % ของประชากร ดื่มกาแฟวันละมากกว่า 6 แก้ว อย่างไรก็ตามการดื่มกาแฟไม่มากก็ยังมีผลในการป้องกันโรคนิ่วเช่นกัน โดยผู้ที่ดื่มกาแฟวันละแก้ว จะมีความเสี่ยงลดลงราว 3% ขณะที่ผู้ซึ่งดื่มกาแฟวันละ…
เล็บ คือ ส่วนของร่างกายซึ่งเป็นแผ่นปกคลุมอยู่บริเวณปลายนิ้วมือนิ้วเท้า เล็บจะงอกยาวขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดเวลา และเนื่องจากเล็บมีความแข็งแตกต่างจากผิวหนังส่วนอื่นของร่างกาย จึงทำให้เราต้องตัดออก เล็บ มามีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพ ตรงที่เราสามารถตรวจสุขภาพของเราได้จากลักษณะของเล็บ ซึ่งหากเราสังเกตตรงนี้ จะช่วยเป็นการตรวจสอบเบื้องต้นได้ว่ากำลังอยู่ในความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอะไรบ้าง ก่อนที่จะไปให้แพทย์วินิจฉัยโดยละเอียดอีกครั้ง เล็บสีซีด หากเล็บมีสีซีดมาก นั่นเป็นสัญญาณว่า อาจจะกำลังเป็นโรคดังนี้ โรคตับ โรคหัวใจล้มเหลว โรคโลหิตจาง หรือ อยู่ในสภาวะขาดสารอาหาร   เล็บสีขาว หากแทบทั้งหมดของเล็บกลายเป็นสีขาวโดยมีขอบคล้ำ เป็นสัญญาณอาการของโรคตับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากนิ้วมือเหลือง ผู้ป่วยมีอาการตัวเหลือง ก็ยิ่งชี้ชัดถึงอาการของโรคตับ…
ภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดที่พบบ่อย การตกเลือด เป็นภาวะที่มีเลือดออกมามากกว่า 500 มิลลิลิตรขึ้นไป หลังจากที่คลอดทารกออกมาแล้ว มักจะเกิดขึ้นทันทีในระยะหลังคลอด หรืออาจเกิดขึ้นหลัง 24 ชั่วโมงหลังคลอดก็ได้ในบางราย ภาวะนี้มักเป็นสาเหตุการตายของมารดา ซึ่งถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงอย่างหนึ่ง สาเหตุ 1. มดลูกไม่หดตัว เป็นสาเหตุของการตกเลือดที่พบบ่อยที่สุดหลังจากการคลอด โดยมีสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดขึ้น เช่น จากการตั้งครรภ์แฝด แฝดน้ำ ทารกตัวโต การคลอดยากโดยเฉพาะในครรภ์ที่ 5 ขึ้นไป คลอดเร็วเกินไป ถุงน้ำคร่ำมีการติดเชื้อ เป็นต้น ภาวะเหล่านี้ทำให้เกิดการขยายอย่างมากของมดลูกจนไม่สามารถหดตัวได้ 2. การฉีดขาดของช่องทางคลอด…

การเพิ่มกำลังใจ เพื่อต่อสู้กับโรคร้าย

เคที่ แมคไนท์ นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วัย 32 ปี รู้ว่ามะเร็งเต้านมเป็นโรคที่สืบทอดในครอบครัวของเธอ ยายทวด ยายป้า และย่าของเธอทางฝั่งพ่อทุกคนล้วนเคยเป็นโรคนี้ เมื่อเธอทดสอบพบว่ามีการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นในการเกิดโรคนี้ เธอตัดสินใจทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อรักษาสุขภาพและไปตรวจคัดกรองเป็นประจำ แม้กระนั้นเธอยังไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับความช็อคที่เปลี่ยนแปลงชีวิตเมื่อได้รับการวินิจฉัยในปี 2020 “ฉันคิดว่าตัวเองเข้มแข็งและสามารถควบคุมสุขภาพและอนาคตของตัวเองได้” เคที่ซึ่งทราบว่าเธอเป็นมะเร็งเต้านมชนิด Triple-Negative ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบที่รุนแรงและขยายตัวเร็ว เธอกลัวตายขณะเดียวกันก็รู้สึกโกรธ เพราะเธอใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังเพื่อป้องกันโรคนี้ “การวินิจฉัยทำให้ความรู้สึกฉันแตกสลาย” เคที่ต้องต่อสู้กับอารมณ์ที่ซับซ้อนหลังจากทราบว่า หนึ่งปีก่อนหน้า เธอมีโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน ซึ่งเป็นโรคอักเสบเรื้อรังที่ส่งผลต่อข้อต่อ “ฉันเห็นเพื่อนๆ และคิดว่าฉันไม่ควรอยู่ในร่างกายที่รู้สึกเหมือนอายุ 80 ปี” เธอกล่าว “ฉันควรจะสามารถไปเที่ยวปั่นจักรยานและตั้งแคมป์นานๆ ได้โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการใช้ยา” ความกลัวและความหงุดหงิดเหล่านี้ทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อเธอต้องเผชิญกับมะเร็งเช่นกัน วิกฤติด้านตัวตนที่เคที่เผชิญเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้ที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัย โรคภัยเปลี่ยนแปลงความรู้สึกของตนเองเพราะมีการสูญเสียในตัวเองหลายประการ และส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการละทิ้งวิถีที่เคยเป็นมาก่อน เคที่ วิลลาร์ด เวอร์แรนท์ นักสังคมสงเคราะห์ที่มีใบอนุญาตซึ่งเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังกล่าว การประสบกับการวินิจฉัยทำให้คุณขาดตอนในบทบาทต่างๆ เช่น เป็นเพื่อนหรืออาจเป็นคู่สมรสและพ่อแม่ รวมถึงอาชีพและวิธีที่คนอื่นมองคุณ มันทำให้คุณติดต่อกับความรู้สึกที่อาจไม่เคยมีมาก่อน เช่น ความอ่อนแอและความไร้กำลังใจ เกือบครึ่งหนึ่งของชาวออสเตรเลียมีเงื่อนไขสุขภาพเรื้อรังอย่างน้อยหนึ่งอย่าง ตามข้อมูลของ ABS – ดังนั้นคุณหรือคนที่คุณรู้จักอาจเกี่ยวข้อง แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงด้านตัวตนอาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้ […]

1 min read

วิธีรักษารอยแผลหลุมสิว

การเป็นสิว สร้างความวิตกกังวลให้กับหลาย ๆ คน แต่สิ่งที่น่ากลัวยิ่งกว่าสิวที่กำลังขึ้นอยู่ ก็คือ รอยแผลเป็นที่เกิดจากสิว รอยแผลเป็นจากสิว แบ่งเป็น แผลเป็นแบบชั่วคราว และ แผลเป็นแบบถาวร ที่หลายคนเรียกกันว่าหลุมสิว สำหรับรอยแผลเป็นจากสิวแบบชั่วคราวนั้น บริเวณผิวหนังจะยังคงเรียบ รอยแผลเป็นแค่รอยดำจากการอักเสบ ซึ่งสามารถหายไปได้ แม้ว่าบางครั้งอาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ก็ตาม การรักษารอยดำของแผลเป็นชั่วคราว ทำได้ไม่ยาก เพียงแค่ทาครีมกันแดด SPF 30+ เพื่อป้องกันการสัมผัสรังสี UV ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสีผิว เท่านี้ ไม่นาน รอยสิวก็จะหายไป รอยแผลเป็นที่มีปัญหากับทุกคนมาก คือ รอยหลุมสิว เนื่องจากเป็นการยากที่จะรักษารอยแผลให้หมด อย่างไรก็ตามแม้จะยากแต่ก็ยังมีวิธีการปรับปรุงสภาพผิวให้ดีขึ้นได้ หากทำตามคำแนะนำของแพทย์ผิวหนังดังต่อไปนี้ 1. ใช้ครีม หรือ เจล  ครีมรักษาแผลเป็นโดยทั่วไปจะไม่สามารถใช้ได้กับแผลหลุมสิว  ให้เลือกใช้ครีมหรือเจล ดังนี้ Adapalene (อะดาพาลีน) หรือที่รู้จักกันในชื่อ Differin gel ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูสภาพผิวจากสิวได้ อย่างไรก็ตามการใช้งานควรเป็นไปตามคำแนะนำที่ถูกต้องของแพทย์ เพราะมีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ผิวแห้ง ลอก ระคายเคือง โดยปกติแล้วการใช้ Differin จะทาบาง ๆ  […]

1 min read

ดื่มกาแฟช่วยป้องกันโรคนิ่ว จริงหรือไม่ ?

นักวิจัยได้ทำการติดตามข้อมูลชาวเดนมาร์กราว 100,000 คน เป็นเวลาประมาณ 8 ปี พบว่าผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำมากกว่า 6 แก้วต่อวัน จะมีความเสี่ยงที่ในการเป็นโรคนิ่วลดลงถึง 23% Dr. A. Tybjaerg-Hansen หัวหน้าแพทย์ของแผนกชีวเคมีคลินิกของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนในเดนมาร์ก บอกว่า “การดื่มกาแฟมากจะทำให้อัตราการเป็นนิ่วต่ำ” เรื่องนี้คงจะเป็นข่าวดีสำหรับชาวเดนมาร์ก เพราะ 6 % ของประชากร ดื่มกาแฟวันละมากกว่า 6 แก้ว อย่างไรก็ตามการดื่มกาแฟไม่มากก็ยังมีผลในการป้องกันโรคนิ่วเช่นกัน โดยผู้ที่ดื่มกาแฟวันละแก้ว จะมีความเสี่ยงลดลงราว 3% ขณะที่ผู้ซึ่งดื่มกาแฟวันละ 3-6 แก้ว จะลดโอกาสในการเป็นโรคนิ่วได้ 17% ผลการวิจัยข้างต้นได้ถูกตีพิมพ์เมื่อวันที่ 5 กันยายน ในหนังสือ วารสารอายุศาสตร์ นิ่ว เป็นเหมือนก้อนกรวดแข็งที่สามารถสะสมในถุงน้ำดีและจะไปปิดกั้นท่อน้ำดี ส่วนมากแล้วผู้ป่วยจะเริ่มรักษาเมื่อรู้สึกเจ็บปวดจนทนไม่ได้ แม้งานวิจัยจะพบว่ากาแฟช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นนิ่ว แต่เหตุผลคืออะไรก็ยังไม่แน่ชัด Dr. A. Tybjaerg-Hansen  คาดว่า คาเฟอีน ถูกขับออกทางน้ำดี จึงเป็นไปได้ว่ากาแฟจะไปลดปริมาณคอเลสเตอรอลที่พบในน้ำดี เนื่องจากการพัฒนาของโรคนิ่วนั้นขึ้นอยู่กับความสมดุลระหว่างคอเลสเตอรอลและกรดน้ำดี อย่างไรก็ตาม Dr. Anthony Bleyer […]

1 min read

เล็บบอกสุขภาพ : ตรวจโรคได้จากเล็บ

เล็บ คือ ส่วนของร่างกายซึ่งเป็นแผ่นปกคลุมอยู่บริเวณปลายนิ้วมือนิ้วเท้า เล็บจะงอกยาวขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดเวลา และเนื่องจากเล็บมีความแข็งแตกต่างจากผิวหนังส่วนอื่นของร่างกาย จึงทำให้เราต้องตัดออก เล็บ มามีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพ ตรงที่เราสามารถตรวจสุขภาพของเราได้จากลักษณะของเล็บ ซึ่งหากเราสังเกตตรงนี้ จะช่วยเป็นการตรวจสอบเบื้องต้นได้ว่ากำลังอยู่ในความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอะไรบ้าง ก่อนที่จะไปให้แพทย์วินิจฉัยโดยละเอียดอีกครั้ง เล็บสีซีด หากเล็บมีสีซีดมาก นั่นเป็นสัญญาณว่า อาจจะกำลังเป็นโรคดังนี้ โรคตับ โรคหัวใจล้มเหลว โรคโลหิตจาง หรือ อยู่ในสภาวะขาดสารอาหาร   เล็บสีขาว หากแทบทั้งหมดของเล็บกลายเป็นสีขาวโดยมีขอบคล้ำ เป็นสัญญาณอาการของโรคตับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากนิ้วมือเหลือง ผู้ป่วยมีอาการตัวเหลือง ก็ยิ่งชี้ชัดถึงอาการของโรคตับ   เล็บสีเหลือง เล็บสีเหลือง บอกถึงการติดเชื้อรา ทั้งนี้ผู้ป่วยบางรายที่มีเล็บเหลืองชี้ให้เห็นถึงสภาพการเจ็บป่วยที่รุนแรงของโรค ต่อมไทรอยด์รุนแรง , เบาหวาน , โรคปอด หรือ โรคสะเก็ดเงิน   เล็บสีน้ำเงิน เล็บโทนสีน้ำเงิน บ่งชี้ว่าร่างกายขาดออกซิเจน ซึ่งอาจจะมีปัญหาเกี่ยวข้องกับโรคปอด เช่น ถุงลมโป่งโพง รวมถึงอาจเป็นอาการของโรคหัวใจบางประเภท   เล็บเป็นลอนขรุขระ หากผิวเล็บมีลักษณะเป็นลอนระลอกคลื่นหรือเป็นผิวขรุขะ นี่อาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคสะเก็ดเงิน ไขข้ออักเสบ […]

1 min read

ภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดและการแก้ไข

ภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดที่พบบ่อย การตกเลือด เป็นภาวะที่มีเลือดออกมามากกว่า 500 มิลลิลิตรขึ้นไป หลังจากที่คลอดทารกออกมาแล้ว มักจะเกิดขึ้นทันทีในระยะหลังคลอด หรืออาจเกิดขึ้นหลัง 24 ชั่วโมงหลังคลอดก็ได้ในบางราย ภาวะนี้มักเป็นสาเหตุการตายของมารดา ซึ่งถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงอย่างหนึ่ง สาเหตุ 1. มดลูกไม่หดตัว เป็นสาเหตุของการตกเลือดที่พบบ่อยที่สุดหลังจากการคลอด โดยมีสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดขึ้น เช่น จากการตั้งครรภ์แฝด แฝดน้ำ ทารกตัวโต การคลอดยากโดยเฉพาะในครรภ์ที่ 5 ขึ้นไป คลอดเร็วเกินไป ถุงน้ำคร่ำมีการติดเชื้อ เป็นต้น ภาวะเหล่านี้ทำให้เกิดการขยายอย่างมากของมดลูกจนไม่สามารถหดตัวได้ 2. การฉีดขาดของช่องทางคลอด เป็นสาเหตุที่พบรองมาจากมดลูกไม่หดตัว ซึ่งบริเวณที่มีการฉีดขาดมักจะเป็นตรงฝีเย็บ รอบท่อปัสสาวะ และด้านข้างของช่องคลอด ซึ่งทำให้มีการตกเลือดหลังจากการคลอดได้ 3. รกค้าง ในรายที่รกเกาะกับเยื่อบุโพรงมดลูกผิดปกติมักทำให้เกิดภาวะรกค้างเกิดขึ้น คือ การเกาะของรกจะลึกเข้าเข้าในชั้นกล้ามเนื้อของมดลูก ทำให้การหลุดลอกของรกออกมาได้ไม่พร้อมกัน ทำให้มีการเสียเลือดไปมาก และภาวะตกเลือดหลังคลอดยังเกิดจากสาเหตุที่รกเกาะต่ำด้วย เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ส่วนล่างของมดลูกมักมีอยู่น้อย ทำให้การหดตัวทำได้ยาก จึงไม่สามารถทำให้เลือดหยุดไหลได้ 4. การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ สาเหตุนี้มักเกิดขึ้นน้อย มักพบกับผู้ที่มีการเสียเลือดมากๆ มีน้ำคร่ำเข้าสู่กระแสเลือด การลอกตัวของรกเกิดขึ้นก่อนกำหนด หรือมีโรคเกี่ยวกับเกล็ดเลือดทำให้เลือดออกง่าย เนื่องจากอายุการทำงานของเกล็ดเลือดสั้นกว่าปกติ แม้ว่าจะพบภาวะน้ำคร่ำเข้าสู่กระแสเลือดได้น้อยราย […]

1 min read

การดูแลทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด คือ ทารกที่คลอดผ่านพ้นครรภ์มารดามาอยู่ภายนอกแล้ว จึงถึง 28 วัน ทารกจะต้องมีการปรับตัวและมีการเจริญเติบโตภายนอกครรภ์มารดาหลังจากที่คลอดออกมาแล้ว ตามแนวแพทย์แผนไทย การดูแลทารกแรกเกิดจึงเป็นหน้าที่ของมารดาเอง หรือญาติผู้ใหญ่ จะมุ่งเน้นการป้องกันไม่ให้ทารกเกิดอันตราย การเปลี่ยนแปลงของทารกแรกเกิด ระบบหายใจ ภายใน 30 วินาทีแรกที่คลอดออกมา ทารกก็จะเริ่มหายใจ และภายใน 90 นาทีก็จะเริ่มหายใจเป็นจังหวะ จากการหายใจครั้งแรกปอดก็จะเริ่มมีการขยายตัว ระบบไหลเวียนโลหิต จะมีความสมบูรณ์ของระบบการไหลเวียนโลหิตเพิ่มขึ้น การไหลเวียนจะเปลี่ยนจากรกมาเป็นทางปอดเพิ่มขึ้น ระบบประสาท สมองของทารกแรกเกิดจะมีการประสานงานของระบบประสาทยังไม่สมบูรณ์ เพราะมีขนาดเพียง 2/3 ของสมองผู้ใหญ่ แต่เมื่อเจริญเติบโตขึ้นก็จะมีการพัฒนาไปตามปกติ ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินอาหารของทารกยังไม่มีความสมบูรณ์หลังจากที่คลอดออกมา ความจุของกระเพาะอาหารมีน้อย มีการเคลื่อนไหวของลำไส้เร็ว จึงทำให้รับประทานได้น้อยและหิวบ่อยๆ ระบบทางเดินปัสสาวะ หลังจากคลอดออกมาทารกจะถ่ายปัสสาวะทันที หรืออาจใช้เวลาไม่นานแต่ไม่ควรเกินกว่า 48 ชั่วโมง ทารกมักถ่ายปัสสาวะบ่อยเพราะกระเพาะปัสสาวะมีขนาดเล็ก การดูแลทารกแรกเกิดในปัจจุบัน นับว่าเป็นระยะสำคัญของชีวิตเกี่ยวกับการดูแลทารกแรกเกิดที่คลอดจากครรภ์มารดา ปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อน ความพิการ และการตายของทารกจะลดลงไปได้ หากมีการดูแลอย่างถูกวิธี เมื่อทารกผ่านวิกฤตจากการคลอดมาอย่างปลอดภัย ราบรื่น การเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกก็จะเป็นไปได้ด้วยดี ดูแลให้ทารกได้รับสารอาหาร เพื่อช่วยในขบวนการเผาผลาญของร่างกาย ทารกจึงมีความต้องการน้ำประมาณวันละ 100-200 […]

1 min read

การนาบหม้อเกลือและการนั่งถ่านของหญิงหลังคลอด

การนาบหม้อเกลือ โดยใส่เกลือลงในหม้อที่มีฝาปิด นำขึ้นตั้งไฟจนเกลือในหม้อแตกปะทุ แล้วยกหม้อลงวางบนใบพลับพลึงหรือใบละหุ่ง ใช้ผ้าห่อหม้อตาลพร้อมกับใบพลับพลึงหรือใบละหุ่ง และให้เหลือชายผ้าไว้สำหรับใช้ถือด้วย แล้วนำหม้อนี้ไปนาบและประคบตามตัว และหัวเหน่าของหญิงหลังคลอด ให้ทำวันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น จนกว่าจะออกไฟ หรือตามความสะดวก เชื่อว่าจะทำให้มดลูกหดตัวเข้าอู่ได้เร็วขึ้น การนาบหม้อเกลือ จะใช้ประโยชน์จากความร้อนเช่นเดียวกับการอยู่ไฟ และการประคบ โดยใช้เกลือเพื่อดูดความร้อนและทำให้ยาซึมผ่านผิวหนังได้ง่าย และใช้สมุนไพรจากใบพลับพลึงและใบละหุ่ง การนั่งถ่าน หญิงที่อยู่ไฟสมัยก่อนต้องมีการนั่งถ่าย โดยใช้สมุนไพรจากผิวมะกรูดตากแห้ง ว่านน้ำ ว่านนางคำ ไพล ขมิ้นอ้อย ชานหมาก ชะลูด ขมิ้นผง ใบหนาด สมุนไพรที่ใช้อาจจะไม่ต้องครบหมดทุกอย่างก็ได้ ให้นำสมุนไพรที่จะใช้ไปหั่นให้ละเอียดแล้วนำไปตากแดดเตรียมไว้ แล้วนำเตาไฟขนาดเล็กวางไว้ใต้แคร่ที่จะให้หญิงหลังคลอดนั่งห้อยขาบนแคร่นั้นได้ แล้วใช้สมุนไพรที่เตรียมไว้แล้วโรยไปบนเตาไฟจะทำให้มีควันพุ่งขึ้นมารมตัว ทำให้แผลที่เกิดจากการคลอดสมานกันได้ดี วิธีนี้ต้องใช้ถ่านที่ไม่แตกเวลาติดไฟ เพราะอาจมีสะเก็ดถ่านกระเด็นทำให้เกิดแผลพุพองได้ จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง อาการของหญิงหลังคลอด ในสมัยก่อนผู้อยู่ไฟจะต้องกินข้าวกับปลาแห้งหรือเกลืออยู่เป็นเวลาหลายวัน ต่อจากนั้นจึงจะกินแกงเลียงได้บ้าง หญิงที่อยู่ไฟทางภาคเหนือมักจะกินข้าวกับเกลือ หรือปั้นข้าวเหนียวจิ้มเกลือกินประมาณ 10-15 วัน ต่อจากนั้นถึงจะกินข้าวกับปลาเค็มได้ พบว่าหญิงหลังคลอดที่ให้นมบุตรในชนบทจะมีปัญหาเกี่ยวกับโรคขาดโปรตีนและแคลอรี่ ทำให้มีน้ำนมน้อย สุขภาพทรุดโทรม เนื่องจากมีความเชื่อเรื่องอาหารที่เป็นของแสลง เชื่อว่าถ้ากินเข้าไปจะทำให้มดลูกไม่แห้ง จึงทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ จึงพบว่ามารดาเหล่านี้มักเป็นโรคเหน็บชาถึงร้อยละ 92 และส่งผลต่อทารกที่ดูดนมแม่ด้วย […]

1 min read

การดูแลมารดาหลังคลอดด้วยการประคบตัว

จะทำในช่วงหลังคลอด 2-3 วัน ในช่วงที่มีการอยู่ไฟอยู่ โดยจะประคบตัวเป็นเวลา 3-7 วัน ติดต่อกันทุกวันหรือจนกว่าจะออกจากการอยู่ไฟ โดยทั่วไปจะมีการทำควบคู่ไปกับการเข้ากระโจม จะประคบตัวก่อนเข้ากระโจมหรือหลังเข้ากระโจมก็ได้ขึ้นอยู่กับแต่ละท้องถิ่น ส่วนใหญ่สมุนไพรที่ใช้ประคบจะเป็นไพล ขมิ้นอ้อย ใบมะขาม ใบส้มป่อย นำมาเคล้ากับเกลือใช้ผ้าห่อมัดให้แน่นทำเป็นลูกประคบ ส่วนใหญ่คนโบราณจะใช้ลูกประคบ 3 ลูก ถ้าเป็นครรภ์แรกก็ให้นั่งทับลูกหนึ่ง ส่วนอีก 2 ลูกก็ใช้ประคบตัว เต้านม หน้าท้อง และแขนขา การประคบจะทำให้น้ำนมเดินสะดวก ไม่คัดเต้านม เดิมการประคบจะทำต่อจากการเข้ากระโจม โดยใช้กากสมุนไพรที่เหลือจากการเข้ากระโจมมาห่อทำเป็นลูกประคบ น้ำที่เหลือจากการเข้ากระโจมก็ใช้จุ่มประคบตัวและใช้อาบเมื่อประคบตัวเสร็จแล้ว และอาบน้ำอีกครั้งด้วยน้ำอุ่นๆ ให้ทำทุกวันจนกว่าจะออกจากการอยู่ไฟ การประคบร้อน การประคบร้อนด้วยสมุนไพร เป็นการประคบด้วยความร้อนชื้น โดยนำสมุนไพรสูตรต่างๆ มาตำพอแหลกแล้วผสมเข้าด้วยกันใช้ผ้าห่อ แล้วนำไปอังไอน้ำร้อนใช้ประคบตามส่วนของร่างกายที่ต้องการ จะช่วยให้กล้ามเนื้อและเอ็นลดอาการบวมและอักเสบได้ ทำให้กล้ามเนื้อลดอาการเกร็งลง มีการยืดตัวของเนื้อเยื่อพังผืด ช่วยให้โลหิตมีการไหลเวียนเพิ่มขึ้น แต่การประคบร้อนด้วยสมุนไพรก่อนและขณะประคบจะต้องมีการคลึงกล้ามเนื้อไปด้วย สมุนไพรที่ใช้ประคบจะมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวด การอักเสบ และมีกลิ่นหอม มีความเชื่อในสมัยโบราณว่าสามารถรักษาโรคได้เช่นกัน ตัวยาและน้ำมันหอมระเหยจะออกจากตัวสมุนไพรเมื่อถูกความร้อน และซึมผ่านเข้าไปในผิวหนังได้ง่าย เนื่องจากบริเวณผิวหนังจะมีชั้นของไขมันอยู่ หากใช้เวลาประคบสัมผัสอยู่นานประมาณ 20-60 นาที ก็จะทำให้น้ำมันหอมระเหยซึมผ่านผิวหนังไปยังระบบการไหลเวียนเลือดและน้ำเหลือง ต่อมเหงื่อ […]

1 min read

การดูแลมารดาหลังคลอดด้วยการเข้ากระโจม

สมัยก่อนถ้าจะให้ครบกระบวนของการอยู่ไฟก็ต้องมีการเข้ากระโจมอบตัว โดยใช้ว่านนางคำฝนหรือตำคั้นเอาแต่น้ำผสมเหล้าและการบูร ทาให้ทั่วตัวก่อนเข้ากระโจม การเข้ากระโจมเป็นการใช้ไอน้ำจากสมุนไพรมาอบตัว เชื่อกันว่าเป็นวิธีสำคัญที่สามารถกำจัดมลทินบนผิวเนื้อต่างๆ ให้หมดไป ช่วยกำจัดน้ำเหลืองที่เสีย และช่วยบำรุงไม่ให้มีฝ้าบนใบหน้า ช่วยบำรุงผิวพรรณให้สดใส สมุนไพรที่นำมาใช้มีอยู่หลายอย่างเช่น เปลือกส้มโอ ใบส้มป่อย ว่านน้ำ ตะไคร้ ผักบุ้งล้อม มะกรูด ใบมะขาม ไพล เป็นต้น ให้นำสมุนไพรมาต้มรวมกันใส่เกลือลงไป 1 หยิบมือ ต้มให้เดือดจนมีไอพุ่ง แล้วต่อท่อไม้ไผ่เข้ากระโจม หรือจะยกหม้อยาเข้าไปในกระโจมแล้วใช้ผ้าคลุมตัวทำเป็นกระโจมก็ได้ ให้ไอออกมารมตัวด้วยการเปิดแย้มฝาหม้อไว้ ระยะนี้ให้สูดหายใจเอาไอน้ำเข้าไปและลืมตาจะทำให้หายใจโล่ง และสารตาดีขึ้น การเข้ารมในกระโจมมักใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงหรือนานกว่านี้ก็ได้ เมื่อเหงื่อไหลออกมาท่วมตัวจึงออกจากกระโจมได้ มักจะทำกันในตอนเช้า ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า การเข้ากระโจมยา หรือจะใช้อิฐเผาไฟจนแดงแล้วนำเข้าไปในกระโจมแทนหม้อยาก็ได้ แล้วราดบนอิฐด้วนน้ำเกลือให้เกิดไอพุ่งขึ้นมารมตัว เรียกว่า เข้ากระโจมอิฐ และไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวของการเข้ากระโจมว่าจะเป็นในระหว่างการอยู่ไฟหรือเมื่อออกไฟแล้ว บางท้องถิ่นอาจทำทุกวันในขณะอยู่ไฟ ตั้งแต่แม่ลุกเดินได้ไหวจนออกจากการอยู่ไฟ หรือนับจำนวนวันให้ได้เป็นเลขคี่ แต่บางท้องถิ่นหลังจากออกไฟแล้วถึงจะเข้ากระโจม การเข้ากระโจม คล้ายกับการใช้ไอน้ำอบตัว จะต้องทาตัวด้วยเหล้า การบูร และว่านนางคำก่อนเข้ากระโจม อาจทำท่อไอน้ำด้วยไม้ไผ่ต่อจากหม้อที่ต้มเดือดแล้วสอดเข้าในกระโจม หรือยกหม้อเข้ากระโจมในขณะที่กำลังเดือดแล้วเปิดฝาออกเล็กน้อยให้มีไอพุ่งขึ้นมารมได้ ซึ่งมีสมุนไพรอยู่ 3 กลุ่มที่ใช้นำมาต้มคือ กลุ่มที่ 1 เป็นสมุนไพรรสเปรี้ยวที่มีกรดอ่อนๆ […]

1 min read

การดูแลมารดาหลังคลอดด้วยการอยู่ไฟ

ภาวะสุขภาพของมารดาหลังคลอดจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ในแง่ของการแพทย์แผนไทย จำเป็นต้องหาวิธีฟื้นฟูสุขภาพที่เสื่อมหรือบกพร่องไป ให้กลับมามีความแข็งแรงดังเดิม การอยู่ไฟ คนไทยได้ปฏิบัติเกี่ยวกับการอยู่ไฟสืบทอดกันมาช้านาน จึงเรียกมารดาในระยะหลังคลอดบุตรว่า ระยะอยู่ไฟ ในสมัยโบราณจะเตรียมการอยู่ไฟไว้ตั้งแต่ก่อนครรภ์แก่ใกล้คลอด โดยสามีจะตัดฟืนมาไว้สำหรับให้ภรรยาอยู่ไฟหลังคลอดลูกแล้ว เพื่อเป็นการแสดงความเอาใจใสต่อภรรยาก็ห้ามผู้อื่นไปตัดฟืนให้ หรือจ้างผู้อื่น หรือซื้อหาเอามา แต่ก็ไม่ได้เคร่งครัดกันมากนักในระยะต่อมา ไม้ที่ใช้ทำฟืนต้องเป็นไม้ที่มีขี้เถ้าน้อยเพื่อไม่ให้เกิดความรำคาญมากนัก เช่น ไม้สะแก หรือไม้มะขาม และควรมีไม้ทองหลางด้วย เพราะมีความเชื่อกันว่า การอยู่ไฟด้วยไม้ทองหลางจะช่วยป้องกันการปวดมดลูกและแก้พิษเลือด แต่ไม้ทองหลางจะทำให้เกิดควันมากจึงควรใส่แค่พอเป็นพิธี ต้องมีการทำพิธี “เข้าขื่อ” เสียก่อนที่จะขึ้นนอนบนกระดานไฟ คือการนอนตะแคงให้หมอตำแยเหยียบสะโพก เพราะมีความเชื่อว่าจะทำให้กระดูกเชิงกรานเข้าที่ และต้องกราบขอขมาเตาไฟก่อนจะขึ้นไปนอน เพราะเชื่อว่าเตาไฟมีเทพารักษ์ประจำอยู่ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จะได้คุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข ให้ระลึกถึงคุณของพระเพลิง พระพาย พระแม่ธรณี และพระแม่คงคา ซึ่งเป็นเทพที่ประจำอยู่กับธาตุทั้ง 4 และหมอจะทาท้องด้วยขมิ้นและปูนแดงที่เสกแล้ว และพอกแผลฝีเย็บด้วยไพลที่ตำกับเกลือ ซึ่งจะช่วยให้แผลหายเร็วไม่เป็นหนอง หรือก่อนพอกยาให้ล้างด้วยเหล้าเสียก่อน เมื่ออยู่ไฟต้องนุ่งผ้าเตี่ยว เอาสำลีที่ชุบขมิ้นผสมกับปูนแดงและเหล้าปิดสะดือ และทาท้องกับหลังไว้เสมอเพื่อเป็นการดับพิษร้อนและเป็นการรักษาร่างกาย และมีการรมตาด้วยนำยาโรยบนถ่านไฟเพื่อกันตาแฉะ ตาเจ็บ หลังจากคลอดลูก 3-7 วันมดลูกก็จะเข้าอู่ หมอตำแยจะเอามือกดตรงหัวเหน่าเพื่อช้อนให้มดลูกเข้าอู่ทุกวัน เมื่อช้อนขึ้นไปแล้วก็ใช้มือกดคลึงที่หัวเหน่า เรียกว่า กล่อมมดลูก เพื่อให้มีการหดตัวเข้าที่ของปากมดลูก ขณะที่กล่อมมดลูก หญิงหลังคลอดจะรู้สึกสบายตัวเพราะจะมีน้ำคาวปลาทะลักออกมาด้วย […]

1 min read